หลักสูตรและเกณฑ์การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry
หลักสูตรฝึกอบรมของสถาบันฯ ได้กำหนดให้มีการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามแนวทางการจัดการฝึกอบรมตามหัวข้อต่อไปนี้
1) การบริบาลผู้ป่วย (Patient care)
หลักสูตรฝึกอบรมของสถาบันฯ ได้จัดตารางการฝึกอบรมที่มีความเหมาะสมกับบริบทของสถาบันฯโดยมีการมอบหมายให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรับผิดชอบในกิจกรรมต่างๆภายใต้การ
ควบคุมของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรบ ดังต่อไปนี้
1. แพทย์ประจำบ้านปีที่ ๑ เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลทางจิตเวชศาสตร์ระดับไม่ซับซ้อน ได้แก่
- ความรู้พื้นฐานทาง psychological science ในโรคที่พบบ่อย
- การประเมินทางจิตเวชศาสตร์ ได้แก่ การสัมภาษณ์ทางจิตเวช (psychiatric interviewing) การตรวจร่างกาย และ การตรวจสภาพจิต (mental status examination) เพื่อนำไปสู่การ
วินิจฉัย วินิจฉัยแยกโรค ความเข้าใจสาเหตุ การเกิดอาการและสามารถวางแผนการรักษาเบื้องต้นได้
- การดูแลโรคหรือภาวะทางจิตเวชที่ไม่ซับซ้อนที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ
- Emergency management เช่น aggression แล suicide
- Basic psychological support
2. แพทย์ประจำบ้านปีที่ ๒ และ ๓ เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลทางจิตเวชศาสตร์ระดับซับซ้อน ได้แก่
-การประเมินทางจิตเวชศาสตร์ ได้แก่ การสัมภาษณ์ทางจิตเวช (psychiatric interviewing) การตรวจร่างกาย และ การตรวจสภาพจิต (mental status examination) ในผู้ป่วยที่มีความซับซ้อน เพื่อ
นำไปสู่การวินิจฉัย วินิจฉัยแยกโรค ความเข้าใจสาเหตุ การเกิดอาการและสามารถวางแผนการรักษาได้
- การดูแลโรคหรือภาวะทางจิตเวชที่ซับซ้อนและ/หรือพบน้อยในเวชปฏิบัติ
- การดูแลโรคหรือภาวะทางจิตเวชในบริบทต่าง ๆ เช่น ในการรับปรึกษาจากแผนกต่าง ๆ ในโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลจิตเวช
- Psychological intervention ในประเด็นที่สำคัญได้
- การฝึกปฏิบัติงานในสถานบำบัดผู้ป่วยจิตเวชที่มีความจำเพาะ เช่น จิตเวชศาสตร์ด้านการเสพติด เด็กวัยรุ่น ผู้สูงอายุ หรือ การนอนหลับ
2)
แผนการฝึกอบรม/หลักสูตร
แผนการฝึกอบรม/หลักสูตร
2) ความรู้และทักษะหัตถการเวชกรรมทางจิตเวชศาสตร์ (Medical/psychiatric knowledge and procedure skills)
1. แพทย์ประจำบ้านปีที่ ๑ เรียนวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานทางจิตเวชศาสตร์ เช่น พฤติกรรมศาสตร์ จิตเวชศาสตร์ทั่วไป และ จิตเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
2. แพทย์ประจำบ้านปีที่ ๒ และ ๓ เรียนและปฏิบัติงานในสาขาวิชาเฉพาะทางต่าง ๆ ทางจิตเวชศาสตร์
3. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี เข้าร่วมในกิจกรรมทางวิชาการ เช่น case conference, journal club
4. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการรักษาด้วยการทำจิตบำบัด หรือวิธีการรักษาแบบใหม่ ๆ ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางจิตเวชศาสตร์
5. ทักษะหัตถการเวชกรรมทางจิตเวชศาสตร์ เช่น การรักษาด้วยไฟฟ้า
3) ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills) แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีต้อง
1. เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะระหว่างบุคคล และการสื่อสาร
2. นำเสนอข้อมูลผู้ป่วยและอภิปรายปัญหาในกิจกรรมวิชาการต่างๆได้ เช่น case conference
4) การเรียนรู้และพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-based learning and improvement) แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีต้องมีประสบการณ์ด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม และการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ
2. ประสบการณ์ด้านการสอน
3. การบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
4. ทำงานวิจัยให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การสอบเพื่อวุฒิบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์
5) ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (Professionalism) แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีต้อง
1. ประพฤติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชน
2. สำรวจจิตใจ พัฒนาตนเอง เพื่อให้มีสุขภาวะที่ดี สามารถบริหารจัดการสถานการณ์ตามบริบทได้อย่างเหมาะสม
3. จัดการแสวงหาความรู้ พัฒนาไปสู่การเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (continuous professional development) เพื่อธำรง และพัฒนาความสามารถด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ และพฤติกรรม
ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาจิตเวชศาสตร์ที่มาตรฐาน และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
4. รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
6) การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (System-based practice)
แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีต้องได้รับประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับระบบคุณภาพของโรงพยาบาล ในด้านต่างๆ ได้แก่ patient safety, crisis management, resource management,
กระบวนการ คุณภาพ และความปลอดภัยทางจิตเวชศาสตร์ และระบบการบริการทางสาธารณสุขของประเทศ
แผนงานฝึกอบรม
หลักสูตรของสถาบันฯ ได้จัดการฝึกอบรมที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ที่สะท้อนคุณสมบัติและขีดความสามารถ ทั้ง ๖ ด้าน ซึ่งประกอบด้วย
1) กิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อถือไว้ใจได้ (Entrustable Professional Activities : EPA)
2) ขั้นขีดความสามารถ (Level of entrustment) มีการจำแนกผลการเรียนรู้และขีดความสามารถในกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อถือไว้ใจได้ (EPA) แต่ละเรื่อง เป็น ๕ ขั้น